พูดถึง joomla หลายๆ คนอาจไม่คุ้นหู โดยเฉพาะนักทำเว็บรุ่นใหม่ ซึ่งสมัยนี้นิยมทำเว็บด้วย wordpress หรือเขียนจากโปรแกรมกัน จริงๆ แล้ว joomla นั้นก็มีข้อดีมากมาย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าอะไรทำให้ joomla ไม่ค่อยเป็นที่นิยม อาจจะด้วยความยากในการปรับแต่ง (ผู้เขียนคิดว่าไม่ยากเท่าไหร่ เพียงแต่ต้องอาศัยความคุ้นเคยเท่านั้น และขั้นตอนจะซับซ้อนกว่า wordpress มากค่ะ) และอีกเรื่องหลักๆ เลยก็น่าจะเป็น seo หรือความแรงของเว็บที่ส่งผลต่ออันดับในกูเกิลนั่นเอง คิดว่าน่าจะเป็นปัจจัยหลักเลยค่ะ ที่ทำให้คนกันไปใช้ wordpress หรือเขียนเองกันหมด เพราะมันสามารถปรับแต่งได้หลากหลายกว่า มีรูปแบบที่สวยงามกว่า เพราะคนใช้เยอะ จึงมีธีมใหม่ๆ ออกมาเสมอ
แต่คุณรู้ไหมว่า ข้อดีของ joomla นั้นคืออะไร ที่ทำให้ joomla ยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้ นั่นก็คือ ความเสถียร นั่นเอง สังเกตว่าเว็บโรงเรียน เว็บราชการ หรือเว็บที่เป็นทางการต่างๆนั้นมักจะใช้ joomla เสมอ จากสถิติ wordpress นั้นติดอันดับต้นๆของ CMS ที่ถูกแฮคมากที่สุด เพราะด้วยความสะดวกสบาย เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายนั่นเอง และมักไม่ค่อยเสถียรหากเว็บไซต์มีข้อมูลปริมาณมาก และยิ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ อย่างข้อมูลขององค์กรต่างๆนั้น ยิ่งต้องจัดการระบบความปลอดภัยให้ดี ปัจจุบัน WordPress ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่พ้นมือแฮค ซึ่ง Joomla นั้น แทบจะไม่มีข่าวนี้ให้เห็นกันเลย
วิธีทำเว็บด้วย joomla
ก่อนอื่นคุณต้องมีโฮสและโดเมนเนมเสียก่อน ซึ่งคุณต้องมีพื้นฐานในด้านนี้ สำหรับบทความนี้จะแนะนำเพียงวิธีปรับแต่งเท่านั้นค่ะ
เมื่อเตรียมโฮสและโดเมนเนมเรียบร้อย พร้อมจะติดตั้งเว็บแล้ว ให้ไปดาวน์โหลด joomla ได้ที่ http://www.joomla.org/download.html แนะนำให้ดาวน์โหลดที่เว็บหลัก เพราะไฟล์ปลอดภัยกว่าค่ะ
เมื่อติดตั้งแล้ว ก็พร้อมจะเป็นเว็บไซต์ ลงเนื้อหาได้ทันที สำหรับใครที่ต้องการปรับแต่งความสวยงามของเว็บ สามารถค้นหาธีมให้ตาม google โดยใช้ keyword ว่า joomla template แนะนำให้ใช้ธีมฟรี และเลือกเว็บที่น่าเชื่อถือค่ะ ป้องกันโค้ดแปลกๆ ทำให้มีโอกาสโดนแฮคได้ง่ายขึ้น หรือสามารถเลือกหาธีมสวยๆจากเว็บที่ผู้เขียนนมาแนะนำให้ก็ได้ค่ะ
http://www.globbersthemes.com/
http://www.siteground.com/joomla-templates.htm
http://www.template-joomspirit.com/
และใครที่ต้องการธีมที่ไม่เหมือนใคร ก็สามารถแก้ไขโค้ดของธีมได้ หรือสร้างจากโปรแกรมสร้างธีมยอดนิยมอย่าง Artisteer ก็ได้ค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.artisteer.com/?p=joomla_templates